ปิดทุกจุดอ่อนชุดโฮมให้เสียงไม่ตกหล่น
http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/lerLMouj_x.jpg

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/V5lx1EY7_x.jpg

1.ต้องเซ็ทคู่หน้าให้ดีที่สุด โดยใช้หลักการเซ็ทแบบ 2 แชนแนล


          ในกรณีของการใช้ลำโพงแบบปกติ ลำโพงลอยตัวที่ไม่ใช่ลำโพง แซทเทิลไลซ์ หรือลำโพงบิวท์อิน การเซ็ตอัพลำโพงหรือการวางลำโพงในจุดที่ดีที่สุดนั้นจะส่งผลให้เสียงมีความเป็นธรรมชาติและดึงความสามารถของลำโพงออกมาได้อย่างหมดจด วิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร จากที่น้าอ้อได้ให้แนวทางไว้ แบ่งห้องให้ได้สัดส่วน เริ่มต้นหาเสียงเบสให้ได้เสียงเบสที่ดีก่อนโดยการขยับลำโพง เดินหน้า – ถอยหลัง เมื่อได้เบสที่ดีที่มีแรงปะทะมีมวลเนื้อเสียงความถี่ต่ำ ไม่บวม ไม่เบลอ ไม่แข็ง เก็บตัวดีและให้เสียงเบสอยู่เกาะๆพื้นไม่ลอย จะเป็นจุดที่ควรตั้งลำโพงมากที่สุด ติดตามอ่านอย่างละเอียดได้จากบทความของน้าอ้อในลิงก์นี้ครับ

https://www.piyanas.com/content/39


http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/bpT8Hlm8_x.jpg

          หลังจากที่เซ็ตอัพได้ที่ เราจะได้เสียงหลักจากลำโพงคู่หน้าที่สมบูรณ์แบบถูกต้อง เราจะเห็นว่าเสียงเบสที่ดีในห้องเราจะอยู่ที่ระนาบไหน ถ้าทำได้ให้เอาลำโพงเซ็นเตอร์วางที่ระนาบเดียวกัน รับรองว่าจะได้เสียงลำโพงเซ็นเตอร์ที่ดีอย่างแน่นอน แต่ถ้าวางไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เอาที่ดีสุดที่เราทำได้ ถ้าท่านได้ลองทำแล้วท่านจะทราบเองเลยครับว่าลำโพงที่ได้เซ็ตอัพแล้ว กับ ตอนแรกที่วางเฉยๆนั้น สิ่งที่แตกต่างเป็นอย่างไร ความสะอาดของเสียง น้ำหนักเสียง เวทีเสียง มิติเสียง โฟกัสเสียง ทุกอย่างที่พึงมีก็จะมีอย่างถูกต้อง เสียงร้องอยู่กลางมีความชัดเจนเสียงโดยรวมไม่เอียงเสียงเบสถูกต้องไม่เบลอ ไม่บวม เสียงดีกว่าการวางลำโพงแบบไม่เซ็ตอัพเป็นอย่างมาก การทดลองขยับลำโพงเองยังเป็นการเพิ่มทักษะการเล่นและการฟังอันเป็นพื้นฐานที่ดีของการเล่นเครื่องเสียงได้เป็นอย่างดี


http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/RYo9KqoQ_x.jpg

2.แอมป์ต้องใหญ่กว่าลำโพง


 

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/OALTTjNM_x.jpg

          แอมป์ใหญ่กว่าก็ดีกว่าทรงพลังมากกว่า ไม่เกี่ยวว่าจะห้องเล็กห้องใหญ่ หรือ เปิดเสียงเบาหรือดัง แต่การที่แอมป์มีพลังมากกว่าส่งผลให้เราคุมเสียงของลำโพงได้ดีกว่า เวลาที่ลำโพงทำงานตามความถี่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นความถี่ต่ำหรือความถี่สูงไดร์เวอร์จะขยับขึ้นลงๆเป็นแรงสั่นสะเทือน การที่เรามีแอมป์ที่มีกำลังวัตต์มากกว่า,รุ่นใหญ่กว่าหรือคุณภาพดีกว่านั้นจะส่งผลให้เกิดการหยุดไดร์เวอร์ได้ดีกว่า ทำให้เกิดความเพี้ยนของเสียงน้อยลง มีไดนามิคส์ที่รวดเร็วและแม่นยำเฉียบคมถูกต้องมากขึ้น ความต่อเนื่องของเสียงก็จะดีกว่า เวลาเราเปิดหนัง หรือ เปิดเพลง เสียงจะนิ่งไม่มีอาการวูบวาบหรือเสียงแกว่ง เสียงจะหลุดตู้ได้ง่าย ทำให้มิติและเวทีเสียงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วครับ


http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/ChRhhmqS_x.jpg

3. ตัดความถี่ของลำโพงคู่หลักให้น้อยที่สุด เพื่อใช้ประโยชน์จากลำโพงให้มากที่สุด


ข้อนี้เป็นผลพวงที่สำคัญที่สุดของการ เซ็ตอัพลำโพงครับ
 
          โดยปกติแล้วใน AVR จะมีครอสโอเวอร์ให้เราปรับ ตัดความถี่ต่ำออกไปจากลำโพงหลักแล้วให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานความถี่ต่ำให้อย่างเดียว จุดประสงค์หลักของการออกแบบ Bass management ให้มีการตัดความถี่แบบนี้ เดิมทีก็เพื่อให้แซทเทิลไลซ์ (ลำโพงตัวเล็กที่มีขนาดวูฟเฟอร์ต่ำว่า 5นิ้วลงไป) ใช้ดูหนังได้โดยคู่กับ ซับวูฟเฟอร์  แต่ถ้าลำโพงที่ท่านใช้งานอยู่แล้วเป็นลำโพงปกติวูฟเฟอร์ขนาด 6นิ้วขึ้นไป หรือใหญ่ขนาดเป็นลำโพงตั้งพื้นแล้วด้วย  และท่านเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพงออกมาได้อย่างดีแล้วท่านไม่ต้องตัดความถี่ต่ำของลำโพงออก โดยการปรับตั้งให้เป็น LARGE ได้เลย ในส่วนของลำโพงตัวอื่นๆเช่น เซอร์ราวด์ หรือ เซ็นเตอร์ถ้ามีขนาดใหญ่ก็ใช้ LARGE ได้ครับ แต่ถ้าขนาดดูแล้วมันเล็กไปก็อาจจะปรับ SMALL  60Hz หรือ 40Hz ก็ได้  การปรับตรงนี้จะส่งผลให้ภาระของซับวูฟเฟอร์นั้นลดลง ไม่ต้องรับความถี่ต่ำจากลำโพงมาทำงานมากเกินไป ก็จะทำให้ความเพี้ยน ความเครียดของซับวูฟเฟอร์ลดลงนั่นเอง ยิ่งเราตัดความถี่น้อยและให้ซับทำงานเน้นที่ความถี่ LFE  เพียงอย่างเดียวเราจะได้เสียงซับที่สะอาดมากขึ้นและลดการกวนกันของเสียงได้ครับ

การเซ็ตอัพที่ตัดความถี่ 80 Hz หรือสูงกว่านั้น เป็นการเซ็ตอัพแบบง่ายๆที่สามารถเซ็ตได้ทุกชุดแต่ไม่ได้ดึงประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งถ้าลำโพงขนาดใหญ่การตัดความถี่สูงจนเกินไปจนกลายเป็นลำโพงเล็ก ทำให้เราไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพของลำโพงเต็มที่คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย ยกตัวอย่างเช่นลำโพง B&W 800D3 ตอบสนองความถี่ได้ถึง 13Hz ถึง 35kHz  เป็นเหตุผลที่ท่านจ่ายเงินกว่าล้านบาท เพราะต้องการความถี่ต่ำ 13Hz นี้ แต่ถ้าท่านตัดความถี่ทิ้งที่ 80Hz หรือ 100Hz ลำโพงคู่นี้จะกลายเป็นลำโพงเล็ก ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับลำโพงวางหิ้ง B&W 805D3 ราคาคู่ละ 200,000 บาท ไปในทันที

เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือท่านจ่ายเงินเพิ่มจาก B&W 805D3 เป็น 800D3 จ่ายเงินเพิ่ม 1,200,000 บาท เพื่อต้องการ เสียงเบสต่ำลึก 13Hz แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเสียงเบส 800D3 เลยแม้แต่น้อย เพราะตัดความถี่ต่ำ 80Hz ไปให้ซับวูฟเฟอร์ทำงานแทนนั่นเอง คำถามต่อไปคือราคาและคุณภาพของซับตัวนั้น คุ้มกว่าเงิน 1,200,000 บาท ที่ท่านจ่ายเพิ่มหรือไม่
 

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/3L4Jdpl5_x.jpg

ถึงแม้ว่าการตัดความถี่ที่สูง 80Hz หรือ 100Hz แล้วใช้ซับมาต่อรับ ที่ 80Hz หรือ 100Hz นี้ได้ แต่ความไวของซับนั้นยากที่จะทันกับลำโพงหลัก เป็นเนื้อเดียว เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนการใช้ซับดูหนังมาเสริมฟังเพลง เมื่อคุณเปิดเพลงคู่หน้าพร้อมซับ มันจะมีการเหลื่อมของเสียง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่หลายท่านเลือกที่จะปิดซับในการฟังเพลง ในระบบ Home theater ก็เช่นเดียวกัน ซับที่มาต่อกับลำโพงหลักที่ตัดสูงเกินความจำเป็น นอกจากทำให้ลำโพงที่ท่านซื้อมาใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คุณภาพของซับตัวนั้น ยากที่จะเปรียบเทียบกับ Woofer ของลำโพง Hi-End ที่มีคุณภาพดีกว่า และให้เบสที่กลมกลืนกับลำโพงกลางแหลมในตู้เดียวกันได้สมบูรณ์แบบมากกว่า ไม่มีการเหลื่อมของเสียงในจุดตัด 80Hz หรือ 100 Hz แต่อย่างใด

ข้อดีของการตัดที่ 80Hz หรือ 100Hz นั้น ง่ายในการเซ็ทอัพเพราะ เป็นการโยนภาระเสียงต่ำไปที่ซับ ทำให้ลำโพงหลักไม่มีเบส ทำให้การปรับ EQ นั้นง่าย กราฟเรียบได้ง่าย ปกติทีมช่างของปิยะนัสที่ผ่านการเรียนคอร์ส HAA สามารถปรับจูนได้ในเวลา 1-2 ชั่วโมง ได้กราฟสวย แต่ไม่สะท้อนถึงคุณภาพเสียงที่แท้จริง เพราะการทำให้กราฟเรียบสวยนั้นง่ายมาก ยิ่งตัดความถี่ลำโพงให้สูง ยิ่งทำกราฟสวยง่าย เพราะลำโพงหลักแทบไม่มีเบสเหลือเลย แต่กราฟที่เรียบจนเกินไปมีผล ให้ความสนุกในการฟังจะลดลง ซิสเต็มขาดชีวิตชีวา เหมือนที่ Anthem ARC ที่เป็นโปรแกรมออโต้ปรับเสียง จะไม่ปรับจนกราฟเรียบสนิท เพราะวิศวกรกล่าวว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเสียงจะขาดชีวิตชีวาลงไป และการปรับ EQ ลำโพงหลัก ยิ่งทำมากยิ่งเปลี่ยนบุคลิกลำโพงไปอย่างน่าเสียดาย การขยับลำโพงตามข้อ 1 จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เปรียบเสมือนการเล่นเครื่องเสียง 2 แชนแนล ที่ทุกคนพยายามเลี่ยงการใช้ EQ แต่ใช้การเซ็ทลำโพงช่วย ในระบบ Home theater ก็ไม่ต่างกัน

ในระบบ 7.1 ถ้าเราตัดความถี่ 80 Hz ทุกแชนแนลให้ซับ 1 ตัว ทำงาน หมายความว่าซับตัวนั้นจะรับภาระความถี่ 80Hz ของทุกแชนแนลลงมาที่ตัวมัน และต้องทำงาน LFE ในฉากที่มีเสียงระเบิด ซับวูฟเฟอร์ 1 ตัว ทำงาน 8 อย่างในเสี้ยววินาทีที่ทุกแชนแนลดังพร้อมๆกัน ความเป็นจริงในช่วงเวลานั้นซับ 1 ดอก ไม่มีทางที่จะเสริมลำโพง 7 แชนแนล พร้อมๆ กับ LFE ด้วยในตัวเอง และนี่คือตัวอย่างของ 7 แชนแนล และถ้ามีแชนแนลเพิ่มหรือเสริมลำโพง Atmos อีก 4 ตัว นั่นหมายความว่าซับ 1 ตัวต้องรับภาระของ 10 กว่าแชนแนล และนี่คือข้อจำกัดของการเล่น Home theater ที่เราเล่นกันมาจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นการที่จะทำให้คุณภาพเสียงดีขึ้น เรื่องแรกคือ การตัดความถี่ต่ำของลำโพงไปที่ซับให้น้อยลง เพื่อให้ซับทำงานเสริมลำโพงหลักให้น้อยที่สุด ถ้าขยับลำโพงได้ให้ขยับลำโพงช่วย ถ้าขยับไม่ได้ลองตัด 40Hz, 60 Hz ถ้าลำโพงหลักยังทำงานได้ดี เบสไม่บวมเบลอเป็นอันใช้ได้ ภาระของซับจะถูกแบ่งเบาลงอย่างมาก ผลที่ได้คือเสียงซับและเสียงลำโพงหลักที่สะอาดขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/y1DqEVY6_x.jpg

ทางเลือกที่สองคือ ในเมื่อซับ 1 ตัวไม่สามารถรับภาระเสียงต่ำได้พร้อมกันทุกแชนแนลในเสี้ยววินาทีเดียวกัน REL จึงนำเสนอนวตกรรมที่มาแก้ปัญหานี้คือใช้ซับวูฟเฟอร์ REL เสริมแต่ละแชนแนล แยกกันเด็ดขาด เรียกว่า REL 3D ซับวูฟเฟอร์1 ตัวทำงานได้สูงสุดคือแค่ 2 แชนแนล ไม่ทำมากกว่านั้น ดีที่สุดคือซับ 1 ตัวเสริม 1 แชนแนล โดยที่ REL ไม่แนะนำให้ตัดความถี่ลำโพงเป็น SMALL เพราะต้องการให้ลำโพงทุกแชนแนลทำงานเต็มความสามารถ จนถึงย่านความถี่ที่ลำโพงแชนแนลนั้นๆทำงานไม่ได้จึงนำ REL เข้าไปเสริม ต่อความถี่ให้ลงลึกถึง 20Hz ทางช่องต่อ HI-LEVEL ที่ใช้สัญญาณทางขั้วลำโพงเดียวกันกับลำโพงหลัก และด้วยสปีดที่เร็วเท่าทันลำโพงหลัก เสียงจึงกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียว เหมือนที่หลายท่านเสริม REL ในการฟังเพลง

ถึงแม้ซับวูฟเฟอร์ REL จะทำงาน LFE กับ HI-LEVEL ได้พร้อมกัน แต่ในเสี้ยววินาทีที่มีสัญญาณ LFE เข้ามา REL จะทำ LFE ก่อน จน LFE หมดถึงกลับมาทำ Hi-LEVEL เสริมลำโพงหลักกันต่อไป เห็นไหมว่าขนาดเราเพิ่มจำนวนซับให้มากขึ้นจนถึงจุดที่ ซับ 1 ตัว ทำงานเสริมลำโพงหลัก 1 แชนแนล และ บางตัวทำ LFE คู่กัน เมื่อมีสัญญาณ LFE เข้ามา REL ยังเลือกทำ LFE ก่อน หมายความว่าช่วงเวลานั้น REL ไม่เสริมลำโพงหลักที่ต่อ HI-LEVEL ให้ แล้วการเล่นแบบ Basic ที่เราโยนภาระทุกแชนแนลไปให้ซับ 1 ตัวทำงานพร้อม LFE นั้นยิ่งเป็นเรื่องยากที่ซับจะไปเสริมลำโพง 10 กว่าตัวได้ในห้วงเวลาเดียวกัน

นั่นจึงเป็นที่มาของการที่ REL ออกซับ HT Series โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อให้นักเล่น แยก LFE ออกจาก HI-LEVEL ออกมาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในเสี้ยววินาทีที่สัญญาณ LFE เกิดขึ้น ซับ HT Series จะรับภาระในเรื่อง LFE เท่านั้น ส่วนซับที่เสริม HI-LEVEL กับลำโพงหลักก็ทำงานเสริมลำโพงหลักตามปกติ ไม่ต้องรับภาระทำ LFE

ข้อควรระวัง!! ถ้าท่านใช้ REL  แบบ HI-LEVEL ร่วมกับชุดดูหนัง ไม่ว่าจะเอาไปใช้กับแชนแนลใดก็ตาม ท่านต้องปรับให้ลำโพงในแชนแนลนั้นๆ ต้องเซ็ทเป็น LARGE เสมอ ห้ามตัดความถี่เด็ดขาด ไม่อย่างนั้นซับ REL ที่ต่อ HI-LEVEL จะไม่ทำงาน หรือถ้าทำงานก็เบามากๆจนไม่เป็นประโยชน์กับท่านเลยครับเพราะโดยปกติแล้ว เราปรับความถี่ของ REL โดยการเติมเต็มช่วงความถี่ที่ลำโพงหลักของเราทำงานลงต่ำได้ไม่ถึงแล้ว REL จะรับหน้าที่ตรงนั้นต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณช่วง 50Hz ลงไปครับ  การตัดความถี่ต่ำออกตั้งแต่ 80Hz ขึ้นไป ทำให้ Rel ไม่ได้รับสัญญาณความถี่ต่ำมาทำงานเพราะ HI-LEVEL  รับสัญญาณจากขั้วลำโพงที่แอมป์เช่นเดียวกันกับลำโพงครับ


http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/Dxx0r2PC_x.jpg

4.ฝ้ากับผนังห้องต้องแข็งแรง และ ห้องต้องไม่ก้อง


ถ้าท่านกำลังเริ่มทำห้องสำหรับดูหนังและฟังเพลงโครงสร้างยิ่งแข็งแรงยิ่งดีเพราะความแข็งแรงของผนังห้องทุกด้านมีผลโดยตรงกับเสียงความถี่ต่ำทั้งหมดเพราะความถี่ต่ำเป็นมวลพลังงานที่มากเป็นคลื่นที่อัดอากาศและมีพลังงานสั่นสะเทือนมากมีความยาวคลื่นที่ยาว ถ้าผนังห้องและฝ้าไม่แข็งแรงก็จะทำให้เสียงเบสหายไปได้เลย เพราะเมื่อความถี่ต่ำออกจากลำโพงและซับวูฟเฟอร์ไปกระทบกับผนังห้องและฝ้าที่ไม่แข็งแรงก็จะเกิดรูปแบบการสั่นที่เป็นเหมือนไดอะแฟรมขนาดใหญ่ขยับตัวทำให้เสียงความถี่ต่ำถูกสลายออกไปได้ เมื่อเสียงเบสไม่ดี ไม่มีมวลไม่มีเนื้อ เสียงกลางก็จะพุ่งและสาก เสียงแหลมจะคมจัดจ้าดจนไม่น่าฟัง  แต่ถ้าห้องแข็งแรงดีฝ้าไม่สั่น เบสจะแน่นมีพลังมีน้ำหนักและมีมวลความถี่ต่ำที่ครบถ้วน ถ้าเสียงเบสดีเสียงกลางก็จะมีเนื้อฉ่ำๆทำให้ฟังแล้วไม่ผอมไม่บาง เมื่อเสียงกลางดี เสียงแหลมก็จะดี มีรายละเอียดพริ้วมีประกายมีฮาโมนิคส์ ของเสียงที่น่าฟัง มีบรรยากาศที่ดี เช่นกันกับข้อที่ 1  เซ็ตอัพลำโพงได้ดี เบสดีทุกอย่างจะลงตัวน่าฟังทั้งหมด แท้จริงแล้วเบสเป็นหัวใจและเป็นเสียงที่ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ เบสที่ดีสะอาดและเป็นธรรมชาติจะช่วยให้ทุกเสียงดีขึ้นอย่างชัดเจน
 

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/bWJKtGr7_x.jpg
 

ในเรื่องของความก้องของเสียงก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะยิ่งห้องก้องมาก เสียงต่างๆจะบวมเบลอ ขาดความสมจริง โชคดีของนักเล่นสมัยนี้ที่มีผลิตภัณฑ์ ของ Vicoustic ที่สามารถนำไปประยุต์ใช้ได้ในห้องฟังแบบจริงจังหรือในห้อง Living room ได้อย่างง่ายดายและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นชัดเจน

ขั้นตอนพื้นฐานในการปรับให้ได้อคูสติกที่ดีในของโฮมเธียเตอร์ มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ทำให้ได้ค่า Reverberation Time (RT) ที่ดีที่สุด, ควบคุมการสะท้อนเสียงลำดับแรก (Early Reflections) และ ควบคุมเสียงที่อาจผิดปกติ (Sound Field Anomalies)

ทำให้ค่า Reverberation Time ดีที่สุด (RT)

  • ค่า RT ยิ่งมากแสดงว่าห้องมีความก้องมาก
  • ห้องโฮมเธียเตอร์จะต้องมีสภาพอคูสติกที่เป็นกลาง
  • ผู้ชมจะต้องได้รับประสบการณ์ทางเสียงเฉกเช่นเดียวกับที่ผู้กำกับได้ออกแบบไว้ นั่นคือควรจะได้สัมผัสเสียง Ambiance, Reverb และ Effect พิเศษอื่นๆ ที่บันทึกไว้เป็นซาวนด์แทรก
  • ยิ่งไปกว่านั้น เสียงพูดของตัวละครจะต้องชัดเจน เนื่องจากบทสนทนาย่อมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอรรถรสในการชมภาพยนตร์
  • เงื่อนไขต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้ค่า Reverberation Times ควรจะสั้นที่สุด
  • RT Values ของความถี่ช่วงกลางควรอยู่ในช่วงระหว่าง 0.2 วินาที - 0.6 วินาที ที่ 500Hz
  • การทำให้ค่า RT ดีที่สุด สามารถใช้ทั้งผลิตภัณฑ์ Sound Absorption และ Diffusing Panels ของ Vicoustic

ควบคุมการสะท้อนเสียงลำดับแรก

  • เมื่อฟังเสียงซาวนด์แทรกของภาพยนตร์ ผู้ฟังควรจะได้สัมผัสถึงเสียงเสียง Ambiance, Reverb และ Effect อื่นที่ถูกบันทึกมาอย่างครบถ้วน
  • ผู้ฟังจะต้องได้ฟังเสียงที่แยกแยะที่มาได้ชัดเจนและถูกต้อง ตามตำแหน่งในเวทีเสียงที่เกิดขึ้นจริง
  • เสียงจากลำโพงจะต้องถึงหูของผู้ฟังโดยมีเสียงสะท้อนแต่น้อย และให้เสียงที่เป็นธรรมชาติโดยปราศจากสีสันของห้อง
  • การสะท้อนเสียงลำดับแรกสามารถควบคุมได้โดยใช้ แผง Sound Absorbtion ของ Vicoustic

Room Modes Control

  • ในห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องโฮมเธียเตอร์ Room Modes เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งอาจทำ ให้เกิดสนามเสียงที่ผิดปกติ (Sound Field Anomalies)
  • Modes เหล่านี้อาจทำให้เกิดผลบางอย่างในห้องโฮมเธียเตอร์ และนั่นย่อมส่งผลต่อการรับฟังเสียงที่ถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะในย่านความถี่ต่ำ
  • สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ห้องโฮมเธียเตอร์ยุคปัจจุบันมักเพิ่มการใช้ซับวูฟเฟอร์ เพื่อถ่ายทอดเสียงความถี่ต่ำให้กับซาวนด์แทรกภาพยนตร์
  • Room Modes ย่อมถูกควบคุมได้โดยการใช้ Bass Trap ของ Vicoustic
  • Bass Trap ควรจะถูกติดตั้งที่ตำแหน่งมุมห้อง

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/GRKXuX7h_x.jpg


http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/x0zn2NkJ_x.jpg

5. ซับวูฟเฟอร์ต้องมีคุณภาพดีและเฟสต้องถูกต้อง


เฟส คือ หัวใจหลักของการเริ่มต้นเซ็ตอัพซัปวูฟเฟอร์  ถ้าเซ็ตเฟสไม่ถูกต้องทั้งหมดทั้งมวลที่ทำกันมากก็สูญเปล่าครับ เหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากแต่ที่จริงแล้วมันง่ายมากๆ  เราจะเน้นเพียงแค่  0 – 180 องศาเท่านั้นนะครับ

วิธีการก็แค่เปิดลำโพงคู่หลัก + Sub  เปิดวอลุ่มให้ดังกว่าปกติเล็กน้อยเลือกเพลงที่มีเบสเยอะ ไม่ว่าจะเป็น  The Greastest Basso  Track 6   หรือ    Yim Hok-Man   แล้วสลับฟังดูว่าที่ 0  หรือ 180 ค่าไหนที่ให้เสียงเบสตรงจุดนั่งฟังที่ดังกว่าให้เลือกค่านั้น ซึ่งโดยปกติจะฟังออกได้ง่ายและชัดเจนมาก

 

http://staff-p2.piyanas.com/images/20200422/wguhiSwx_x.jpg

จุดนี้สำคัญมากถ้าเฟสไม่ถูกต้อง เสียงเฟสของซับจะไปหักล้างกับเสียงเบสลำโพงหลัก เร่งเท่าไรเบสก็ไม่มา ข้อสังเกตง่ายๆคือ ถ้าท่านต้องเร่งซับสูงมากจนถึงบ่ายโมง หรือเกินกว่านั้น สันนิษฐานได้เลยว่าเฟสผิดเพราะ ถ้าเฟสถูกต้อง ซับวูฟเฟอร์เร่งเต็มที่ไม่เกิน 11 โมงเสียงต้องครบเต็มห้องแล้ว ถ้าท่านเร่งซับจนบ่าย 2 แล้วไม่มีเบส วิธีแก้ก็ง่ายมาก เดินไปสลับเฟสอีกครั้ง ถ้าเบสกลับมาดังมากก็ใช้ค่านี้ แล้วลดโวลุ่มไปที่10-11 โมง ได้ตามปกติ

คุณภาพของซับวูฟเฟอร์มีความสำคัญอย่างมาก ซับที่ดีจะมีรายละเอียดของเสียงความถี่ต่ำที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตัวโน็ตชัดเจนมีความผ่อนหนักเบาได้ดีต้องไม่ใช้เสียงที่ดังอย่างเดียว และต้องหยุดตัวได้ดี และไม่แข็งแบบกระแทกจนจุกอกเพราะถ้าแข็งแบบนั้นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ก็หายไปหมดแน่นอนครับ


 

วิธีการชำระเงิน